เตือนการระบาดศัตรูพืชประจำสัปดาห์

เตือนการระบาดศัตรูพืชประจำสัปดาห์

เตือนการระบาดศัตรูพืชประจำสัปดาห์

สัปดาห์ที่ 4 ประจำเดือน มีนาคม 2562

           โรคราแป้งยางพาราหรือโรคใบร่วง

        

เตือนเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะต้นยางพาราที่กำลังผลิใบอ่อนหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ ประกอบกับกลางวันอากาศร้อนกลางคืนอากาศเย็น ความชื้นสูง มีหมอกในตอนเช้า หรือมีฝนตกปรอยๆในบางวัน มักพบโรคราแป้งระบาดมากในช่วงนี้ 

 ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนยางพาราอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคนี้ให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เพื่อรีบหาแนวทางป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับการผลัดใบของต้นยาง อายุใบ ความอ่อนแอของพันธุ์ยาง สภาพพื้นที่ของแปลงปลูกและสภาพอากาศในช่วงที่ต้นยางแตกใบใหม่ โรคนี้นอกจากจะทำให้เกิดอาการทางใบแล้วยังทำให้ดอกร่วงสูญเสียเมล็ดในการขยายพันธุ์ การระบาดของโรคราแป้งทำให้สูญเสียผลผลิตยางแห้งได้ถึง ๓๐%

เชื้อสาเหตุ  :   เชื้อรา Oidium heveae Steinm.

 ลักษณะอาการ : เชื้อราจะเข้าทำลายใบอ่อนที่เพิ่งแตกยอดออกมาทำให้ใบอ่อนเน่าดำ มีรูปร่างบิดงอและร่วงหล่น เหลือเฉพาะก้าน (ซึ่งจะเหี่ยวแล้วร่วงหล่นทีหลัง) หากเข้าไปสังเกตในสวนยางขณะลมกระโชก จะเห็นใบอ่อนร่วงเต็มกระจายทั่วแปลง ทั้งที่ปลิวลอยอยู่ในอากาศ และทุก ๆ ตารางนิ้วของพื้นดิน ในสวน แต่หากใบอ่อนยังสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ก็จะมีกลุ่มสปอร์และเส้นใยสีขาวเทาของเชื้อรา ที่สร้างขึ้นบนผิวใบด้านล่างของแผ่นใบมองดูคล้ายแป้งและจะพบแผลบนใบสีเหลืองในตำ แหน่งที่โดนเชื้อราเข้าทำลาย ซึ่งจะกลายเป็นแผลสีน้ำตาลรูปร่างไม่แน่นอนเมื่อใบแก่ นอกจากนี้ หากเชื้อราเข้าทำลายดอกก็จะทำให้ดอกค่อย ๆ ร่วงหล่นด้วยเช่นกัน     

การแพร่ระบาด :  เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดโดยลมและแมลง มักระบาดในฤดูร้อนที่กลางวันร้อนมาก ๆ กลางคืนอากาศเย็น ตอนเช้าตรู่มีหมอกและมีความชื้นสูง หรือมีฝนตกปรอย ๆ ในบางวัน และระบาดเข้าทำลายเฉพาะใบยางอ่อนที่เริ่มผลิ ทั้งในสวนยางที่ได้ขนาดกรีดแล้ว รวมทั้งสวนยางขนาดอายุ ๑ – ๒ ปี

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้         

๑. ในช่วงปลายฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางที่มีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าปกติ เพื่อเร่งให้ใบยางที่ผลิใหม่หลังฤดูผลัดใบ            

๒. เขตที่มีการระบาดของโรคอยู่เป็นประจำการเลือกพันธุ์ยางควรคำนึงถึงลักษณะการผลัด ใบด้วย พันธุ์ยางที่ผลัดใบเร็วจะหลีกเลี่ยงโรคได้ดี            

๓. สำหรับต้นยางที่มีอายุไม่เกิน ๒ ปีและเริ่มพบเชื้อระบาด ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด โรคพืชบริเวณใบที่กำลังผลิยอดอ่อนใหม่ โดยต้องพ่นบนใบยางอ่อนทุกสัปดาห์ในช่วงที่เริ่มพบโรค เช่น  เบโนมิล (benomyl) เช่น เบนเลท ๕๐% WP ฟันดาโซล ๕๐% WP อัตรา ๒๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร    

                                                                                                         สำนักงานเกษตรอำเภอศรีณรงค์

129 ม.2 ต.ณรงค์ อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ 32150