โรคเถาเหี่ยวแตงโม

โรคเถาเหี่ยวแตงโม

เตือนการระบาดศัตรูพืชประจำสัปดาห์

สัปดาห์ที่ 3 ประจำเดือน เมษายน 2562

โรคเถาเหี่ยว

แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม หรือพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง มะระและแคนตาลูป เนื่องด้วยช่วงนี้ในพื้นที่อำเภอศรีณรงค์มีอากาศร้อนและมีฝนตกในบางพื้นที่ ซึ่งเหมาะแก่การเกิดโรคเถาเหี่ยวในแตงโม

เชื้อสาเหตุ : โรคเถาเหี่ยว (เชื้อรา Fusarium oxysporum)

ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : แตงโม แตงกวา ฟักทอง มะระและแคนตาลูป

ระยะการเจริญเติบโต ของพืชในช่วงนี้ : ออกดอก

ข้อสังเกต/ลักษณะอาการที่อาจพบ : แตงโมจะแสดงอาการใบเหลือง โดยเริ่มจากใบบริเวณโคนเถาและเหลืองต่อเนื่องไปสู่ยอด ต่อมาเถาแตงจะเหี่ยวและตายบางครั้งจะมีรอยแตกตามยาวของลำต้น โดยเฉพาะบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน หากมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยสีขาวอมชมพูของเชื้อราสาเหตุ โรคและเมื่อผ่าดูจะพบภายในลำต้นเป็นสีน้ำตาล

แนวทางป้องกัน/แก้ไข : ๑. หลีกเลี่ยงการปลูกแตงโมในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

๒. ก่อนปลูกควรไถกลับหน้าดินตากแดดและใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อปรับสภาพดิน

๓. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

๔. ไม่ปลูกแตงโมแน่นเกินไปเพื่อให้สามารถระบายความชื้นได้ดี

๕. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรค ถอนต้นที่เป็น โรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยปูนขาว หรือใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น อีไตรไดอะโซล ๒๔% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ า ๒๐ ลิตร หรือ  อีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน ๖% + ๒๔% อีซี อัตรา ๓๐๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร รดดินในหลุมและบริเวณ ใกล้เคียง เพื่อป้องกันโรคระบาดไปยังต้นข้างเคียง

๖. แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่น หมุนเวียน ไม่ปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง มะระ และ แคนตาลูป และพืชในตระกูลพริก มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เนื่องจากอ่อนแอต่อโรค

ที่มา : คณะทํางานพยากรณ์และเตือนภัยศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร